วันพุธที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 - 16.30 น. ณ ห้องดวงกมล ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา

เวทีสาธารณะ เรื่อง เรตติ้งภาพยนตร์ : เครื่องมือป้องกันเยาวชนติดบุหรี่ 5 มี.ค. 53 รร.สยามซิตี้

  

เวทีสาธารณะ

เรื่อง เรตติ้งภาพยนตร์ : เครื่องมือป้องกันเยาวชนติดบุหรี่

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2553 เวลา 13.00- 16.30 น.

ณ ห้องดวงกมล โรงแรมสยามซิตี้

 

จัดโดย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

ร่วมกับ

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 

 

            ใน ปัจจุบันแม้ว่าภาพยนตร์จะไม่ใช่ตัวการสำคัญหลักในการกระตุ้นให้เกิดการริ เริ่มสูบบุหรี่ในกลุ่มเยาวชนก็ตาม แต่จากการศึกษาที่ผ่านมาก็ไม่อาจปฏิเสธอิทธิพลของภาพยนตร์ที่มีผลในการชัก จูงให้เกิดพฤติกรรมการสูบบุหรี่ของเยาวชนได้ จากผลการศึกษาวิจัยขององค์การอนามัยโลก (WHO) ในสหรัฐปี 1999-2006 (8 ปี) พบว่า ผู้ชมวัยรุ่นอายุ 12 - 17 ปี มีร้อยละ 20 ของ 45 ล้านคน คิดเป็นจำนวน 8.8 ล้านคน เฉลี่ยจะมีเด็กวัยรุ่นชมภาพยนตร์ปีละ 1. 1 ล้านคน

 

หากมีภาพบุหรี่ปรากฏในหนัง เท่ากับว่า จะมีวัยรุ่นในกลุ่มนี้เห็นบุหรี่ปีละ 1. 1 ล้านคน

 

             จากผลการศึกษา เรื่อง Character Smoking in Top Box Office Movies โดย American Legacy Foundation และ Smoke-free Movies : from Evidence to Action โดย WHO พบว่า

 

·         ในปี 1999 2006 มีการปรากฏตัวบุหรี่ในหนังทั้งเรตกลุ่มเยาวชน (Youth Rated) และ กลุ่มผู้ใหญ่ (Adult Rated) รวมกัน 8,400 ครั้ง โดยจำแนกเป็นเรต G ร้อยละ 3 เรต PG 13 ร้อยละ 29 และ เรต R ร้อยละ 68

·         ใน ขณะที่มีตัวเลขของการศึกษา ในระหว่างปี 1996 -2005 ถึงแม้ว่า ตัวเลขการปรากฏตัวของภาพบุหรี่ในหนังจะมีค่าเฉลี่ยลดลง แต่เมื่อย้อนกลับไปดูตัวเลขในกลุ่มเรตหนังสำหรับเยาวชนพบว่ามีตัวเลขสูงขึ้น ถึงร้อยละ 12 คือจาก 238 เรื่องเป็น 267 เรื่อง

 

              และจากการศึกษาของศูนย์กลางการควบคุมและป้องกันโรคในสหรัฐ พบว่า "ในช่วงที่มีการปรากฏภาพบุหรี่ในหนังมีผลต่อการเพิ่มจำนวนผู้สูบบุหรี่หน้าใหม่

 

            ทั้ง หมดเป็นเครื่องพิสูจน์และยืนยันว่า การปรากฏตัวของบุหรี่ในหนังจะเป็นช่องทางของการโฆษณาประชาสัมพันธ์บุหรี่ต่อ ผู้ชมเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะกลุ่มเด็ก เยาวชน โดยพบว่าการปรากฏตัวของบุหรี่ในภาพยนตร์นั้น ส่งผลต่อเยาวชน

 

            โดย เฉพาะช่วงวัยเด็ก 6- 12เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น ยังมีลักษณะการเลียนแบบสูง เนื่องจากระบบคิดยังอยู่ในช่วงการพัฒนาความเป็นเหตุเป็นผล การแยกแยะข้อมูลที่ได้รับว่ามีความหมายเช่นไร มีแนวโน้มสูงที่จะทดลองด้วยการเลียนแบบพฤติกรรมโดยไม่เข้าใจความหมายของ พฤติกรรมนั้นๆ ในขณะที่วัยรุ่น 13- 18 ปี เป็นวัยที่มีการแสวงหาต้นแบบในอุดมคติ นักร้อง นักดนตรี ดารา เป็น Idol ของ เด็กวัยรุ่น โดยเฉพาะการนำเสนอที่สร้างภาพลักษณ์ สร้างความรู้สึกร่วม จะมีอิทธิพลมากต่อความคิดและพฤติกรรมของวัยรุ่น นอกจากนี้เด็กจะมีความต้องการเป็นแบบผู้ใหญ่ อยากแสดงพฤติกรรมเลียนแบบผู้ใหญ่เพื่อแสดงว่าตนเองโตแล้ว

 

            นอก จากนั้น ยังมีข้อยืนยันจากผลการศึกษาที่ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ของอังกฤษ ได้ยืนยันถึงความสัมพันธ์ระหว่างการสูบบุหรี่ของวัยรุ่นกับฉากสูบบุหรี่ใน ภาพยนตร์ โดยได้ทำการสำรวจเด็กอเมริกันจำนวน 5,000 คน ที่มีอายุระหว่าง 9- 15 ปี ได้ผลการศึกษาที่สำคัญ 2 ประการ

 

ประการที่ 1 เด็กวัยรุ่นที่ชื่นชอบดาราที่สูบบุหรี่ในการแสดงภาพยนตร์มีแนวโน้มที่จะมีทัศนคติที่ดีต่อการสูบบุหรี่สูงกว่าเด็กทั่วไปถึง 16 เท่า

 

ประการที่ 2 หลังจากจัดให้มีการควบคุมปัจจัยอื่นๆ เช่น การที่มีพ่อ แม่ สูบบุหรี่แล้ว ผลการวิจัยยังชี้ชัดว่าเด็กวัยรุ่นที่เคยดูภาพยนตร์ที่มีฉากสูบบุหรี่ให้ เห็นบ่อยครั้งมีแนวโน้มที่จะลองสูบบุหรี่สูงกว่าเด็กทั่วไปถึง 3 เท่า

 

            ใน ขณะเดียวกัน ข้อสรุปทางวิชาการทั้งจากประเทศ สหรัฐ อังกฤษ แคนาคา ออสเตรเลีย ฮ่องกง เยอรมัน ที่ได้ศึกษาในเชิงพฤติกรรมการเรียนรู้ของกลุ่มผู้ชมกับความสัมพันธ์ด้าน บุหรี่ในภาพยนตร์ พบว่า "บุหรี่ในภาพยนตร์มีผลโดยตรงต่อการเริ่มต้น สูบบุหรี่ในกลุ่มเด็ก เยาวชน ทัศนคติที่ดีต่อภาพของบุหรี่ในฐานะของบรรทัดฐานทางสังคมและวัฒนธรรมการใช้ ชีวิตปกติทั่วไป โดยเฉพาะผู้สูบบุหรี่เป็นดารานำมีผลอย่างมากทัศนคติเชิงบวกในการสูบบุหรี่"

 

            จึง ไม่อาจปฏิเสธได้ว่า การปรากฏตัวของบุหรี่ในหนังนั้นส่งผลต่อการเรียนรู้เชิงพฤติกรรมต่อเด็ก เยาวชน ทั้งกลุ่มเด็กโตที่ยังมีพัฒนาการด้านวิจารณญาณน้อยกว่าผู้ใหญ่ ยังไม่สามารถแยกแยะบทบาทสมมุติในการสูบบุหรี่ของตัวละครได้ดีเท่ากับผู้ใหญ่ ในขณะเดียวกัน ในช่วงวัยรุ่น ความต้องการเลียนแบบต้นแบบเป็นประเด็นสำคัญ อีกทั้ง การต้องการแสดงตัวตนเป็นผู้ใหญ่ ทำให้การเห็นภาพบุหรี่ในหนังอาจส่งต่อค่านิยมต่อเรื่องบุหรี่เป็นเรื่องดี และหากผู้นำเสนอภาพบุหรี่เป็นตัวเอกของเรื่อง ย่อมส่งผลต่อทัศนคติที่ดีต่อภาพลักษณ์ของบุหรี่

            ดังนั้นตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2545 องค์การอนามัยโลกร่วมกับแพทยสมาคมอเมริกัน สมาคมวิชาชีพแพทย์ด้านต่างๆ และโครงการ Tobacco Free Films โดย ศ.สแตน ตัน แกลนซ์ แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกาได้เรียกร้องให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ยุติการส่งเสริมให้มีภาพการ สูบบุหรี่ของตัวแสดงรวมถึงภาพของผลิตภัณฑ์ที่มีเครื่องหมายยี่ห้อบุหรี่ใน ภาพยนตร์ และวันงดสูบบุหรี่โลก 31 พฤษภาคม ปี 2546 องค์การอนามัยโลก ได้กำหนดประเด็นในการรณรงค์ว่า Tobacco Free Film Tobacco Free Fashion Action! โดย องค์การอนามัยโลก ได้นำเสนอถึงแนวคิดดังกล่าวว่า การปรากฎตัวของบุหรี่ในภาพยนตร์นั้นควรปรากฎในภาพยนตร์ในกลุ่มระดับความ เหมาะสมสำหรับผู้ใหญ่ หรือ Adult Rate กล่าวคือในกลุ่มเรตติ้ง R ขึ้นไป ในขณะที่กลุ่มเด็กและเยาวชน หรือ Youth Rate กล่าวคือ ในกลุ่ม PG PG13+ นั้น ไม่ควรปรากฎภาพหรือมีการนำเสนอการใช้บุหรี่ในภาพยนตร์

             สำหรับ ประเทศไทย หลังจากมีการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดีทัศน์ พ.ศ.255 1 ที่ผ่านมา โดยในมาตรา 26 ได้มีการกำหนดให้มีการตรวจพิจารณาภาพยนตร์โดยให้คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์ และวีดีทัศน์กำหนดด้วยว่าภาพยนตร์ดังกล่าวจัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใด 7 ประเภท ดังนี้ ( 1) ภาพยนตร์ที่ส่งเสริมการเรียนรู้และควรส่งเสริมให้มีการดู (2) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้ดูทั่วไป (3) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบสามปีขึ้นไป (4) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบห้าปีขึ้นไป (5) ภาพยนตร์ที่เหมาะสมกับผู้มีอายุตั้งแต่สิบแปดปีขึ้นไป (6) ภาพยนตร์ที่ห้ามผู้มีอายุต่ำกว่ายี่สิบปีดู และ (7) ภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร โดยหลักเกณฑ์ในการกำหนดว่าภาพยนตร์ลักษณะใดควรจัดอยู่ในภาพยนตร์ประเภทใดให้ เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

 

            โดย ได้นำประเด็นบุหรี่ เป็นเงื่อนไขในการพิจารณาจัดเรตด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นเพื่อให้สังคมเกิดความเข้าใจ และสนับสนุนให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์เห็นความสำคัญของการ จัดเรตภาพยนตร์ และมีส่วนส่งเสริมในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้การจัดเรตภาพยนตร์สามารถป้องกันเยาวชนจากการติดบุหรี่ได้สมบูรณ์ ยิ่งขึ้น สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ และมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ จึงจัดให้มีเวทีสาธารณะเรื่อง เรตติ้งภาพยนตร์: เครื่องมือป้องกันเยาวชนติดบุหรี่ ขึ้น

 

กำหนดการจัดเวทีสาธารณะ

เรื่อง เรตติ้งภาพยนตร์ :เครื่องมือป้องกันเยาวชนติดบุหรี่

วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2553 เวลา 13.00 16.30 น.

ณ ห้องดวงกมล ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้ ถนนศรีอยุธยา

 

จัดโดย

สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว ม.มหิดล

ร่วมกับ

มูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ

 

 

 

 13.00 - 13.30 น. ลงทะเบียน

 13.30 - 14. 15 น. การนำเสนอข้อมูล

·         การจัดเรตติ้งภาพยนตร์ ตามพรบ.ภาพยนตร์และวีดีทัศน์พ.ศ.255 1

โดย คุณสมชาย เสียงหลาย เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรม

แห่งชาติ

พลังของภาพยนตร์ที่บริษัทบุหรี่ไม่เคยมองข้าม

      โดย ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ เลขาธิการมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่

·         ทำไมภาพยนตร์จึงกลายเป็น หนังหน้าไฟ(แช็ค)

      โดย นพ.ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์

 14. 15 15.30 น.        เปิดเวทีสาธารณะ โดยผู้มีบทบาทสำคัญในวงการภาพยนตร์

·         คุณสุวรรณี ชินเชี่ยวชาญ รองกรรมการผู้จัดการบริษัทเอส เอฟซินีมา จำกัด

·         คุณพิทยากร ลีลาภัทร ผู้จัดการฝ่ายการตลาด บริษัทแคททาลิสต์ฯ (ประเทศไทย)

·         คุณชัยวัฒน์ ทวีวงษ์แสงทอง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งประเทศไทย

·         มรว.เฉลิมชาตรี ยุคล ผู้บริหารบริษัทพร้อมมิตรภาพยนตร์

·         คุณอัญญาอร พาณิชพึ่งรัถ ประธานเครือข่ายพ่อแม่เฝ้าระวังสื่อ

·         อาจารย์อิทธิพล ปรีติประสงค์ สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล

 15.30 - 16.30 น.         เปิดเวทีสาธารณะจากที่ประชุม

 16.30 น.                       จบการประชุม

 

 

 

ผู้ดำเนินรายการโดย พญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล และ(คุณเอิร์ท ) ศัลย์ อิทธิสุขนันท์

 

 

 

ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมกรุณาติดต่อคุณสถาพร โทร.081-570-6408 , 02-278-1828
ขอเชิญอ่าน blog.Thank you so much.
http://www.thaifreedompress.blogspot.com/
http://sunblog1951.blogspot.com/ sunday
http://blogpwd.blogspot.com/ pwd9
http://ktblog1951.blogspot.com/ pwday
http://newsblog9.blogspot.com/ news
http://bloghealth99.blogspot.com/ health
http://labour9.blogspot.com/ labour
http://www.media4democracy.com/th/
http://www.youngtelecom.org/
http://www.logex.kmutt.ac.th/
http://www.mict4u.net/thai/
http://www.chula.ac.th/visitors/thai/calendar.htm
http://www.agkmstou.com/2008/index.php
http://www.baanjomyut.com/library/lotus/index.html
http://www.asianbarometer.org/newenglish/introduction/default.htm
http://www.isriya.com/node/2809
/wordcamp-bangkok-2009-pool-party
C:\Documents and Settings\user\My Documents\ไฟล์ที่ได้รับของฉัน\issarachon1101.wma
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=hiansoon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น